วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บ้านทรงไทยโบราณ

 

เรือนไทยแบบดั้งเดิม บ้านทรงไทยโบราณ

๑ เรือนเครื่องผูก ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานหมายถึง: (คำนาม) เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวายเป็นต้น คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
อธิบายเพิ่มเติม;

เรือนเครื่องผูก ใช้วิธี มัด , ถัก , ผูก วัสดุ หวาย , เถาวัลย์, ตอกไม้ไผ่ , เชือก ฯลฯ ยึด องค์ประกอบต่างๆและโครงสร้าง ของตัวเรือนด้วยกัน โดยมากโครงสร้างจะเป็นวัสดุประเภทไม้ไผ่ ( โครงสร้างหลักๆ เช่น เสา คาน ส่วนใหญ่ใช้ไม้จริง ก็ได้ ) วัสดุมุงหลังคามักจะเป็นหญ้าคา,ใบจาก,ใบตองตึง,ฯลฯ

๒ เรือนเครื่องสับ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานหมายถึง: (คำนาม) เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้คู่กับ เรือนเครื่องผูก เรือนฝากระดาน ก็เรียก.

ใช้การบาก เจาะ , เข้าเดือย , ใส่ลูกสลัก แต่เดิมฝาหรือพื้นกระดาน ใช้วิธี สับ หรือ ถาก จึงเรียกติดปากช่างว่า " เรือนเครื่องสับ " เดิมโครงสร้างหลักเป็นไม้จริงโดยไม่ใช้ตะปูตอกยึด ( อาจมีการใช้ตะปูจีนบ้าง ) วัสดุมุงหลังคาเรือนไทย ยุคนี้มักจะใช้ *แป้นเกล็ด แต่เริ่มมีการใช้ **กระเบื้องดินเผา และ กระเบื้องเคลือบดินเผา มุงหลังคา

กระเบื้องหลังคาบ้านทรงไทยโบราณ

โดย กระเบื้องดินเผาไทย

ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระเบื้องดินเผา กระเบื้องเคลือบดินเผามานานกว่า 50 ปี

ติดต่อ โทร 089-8342552 หรือคลิก ทัก Line

5/7/2564

ขอบคุณข้อมูลจาก

1 พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมแปล พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน